โครงการพัฒนาการบริหารและการจัดการศึกษาสู่สมรรถนะการแข่งขัน
ในศตวรรษที่ 21 มาตรฐานสากล
************************************
เหตุผลความจำเป็น
ปัจจุบันนี้ โลกของเราได้ก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้เทคโนโลยีต่าง ๆ มีการพัฒนาก้าวหน้าไปไกล จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาคนไทยให้มีความพร้อมในการดํารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมีแบบแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการศึกษาในทุกระดับบนพื้นฐาน รวมถึงการสนับสนุนที่ต้องคํานึงถึงความจําเป็นและศักยภาพของสถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง ให้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ มีหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะหลักที่จำเป็นต่อผู้เรียนมีดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อการเรียนรู้แห่งชาติที่สามารถขยายความรู้และวิธีการเรียนไปสู่โรงเรียน นักเรียน และครู ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ดังนั้น การพัฒนาคนเพื่อพัฒนาประเทศ จึงจำเป็นต้องใช้ระบบการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพในการบริหารจัดให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ ต้องพัฒนาครูและบุคลากร
ให้มีคุณภาพและมาตรฐานสากล เพราะหากครูมีคุณภาพหรือครูเก่งจะส่งผลให้ผู้เรียนมีความเก่งตามไปด้วยเช่นกัน หากต้องการให้ครูมีความเก่ง จึงจำเป็นต้องพัฒนาผู้บริหารให้เก่งและมีคุณภาพ ซึ่งการพัฒนาผู้บริหารให้มีคุณภาพนั้น ต้องมีการพัฒนาผู้นำหรือวิทยากรหลักของสถานศึกษา เพื่อเป็นการขับเคลื่อนสถานศึกษา ให้บรรลุเป้าประสงค์ตามวิสัยทัศน์และพันธกิจที่ตั้งเอาไว้
ดังนั้น สถานศึกษาต้องมีการจัดการเรียนการสอนและการบริหารด้วยระบบการบริหารคุณภาพ
ที่เทียบเคียงมาตรฐานของชาติและมาตรฐานสากล ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) สอดคล้องกับการจัดการศึกษาของชาติในอีก 20 ปีข้างหน้า ในยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา และยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2568) และแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579
เพื่อให้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่คุณภาพระดับมาตรฐานสากล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบสำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลายดำเนินการขับเคลื่อนได้คัดเลือกโรงเรียนที่มีความพร้อมและมีคุณภาพสูงทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเข้าโครงการจำนวน 3 รุ่น รวม 1,599 โรงเรียน
วัตถุประสงค์
- เพื่อพัฒนาผู้บริหาร ครู ศึกษานิเทศก์ และนักวิชาการศึกษา ให้มีศักยภาพในการบริหารจัดการในด้านการจัดการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพสู่สมรรถนะในการแข่งขันและคุณภาพระดับมาตรฐานสากล
- เพื่อพัฒนาผู้บริหาร ครู และนักวิชาการศึกษา ให้มีความรู้และความเข้าใจในการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ เพื่อรองรับการประกันคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ
- เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้มีสมรรถนะในการแข่งขันและมีคุณภาพระดับมาตรฐานสากล
เป้าหมายโครงการ
- โรงเรียนมัธยมศึกษามีกลไกในการพัฒนาการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพและการจัดการเรียนการสอนตามแนวทาง Independent Study :IS สู่สมรรถนะในการแข่งขันและมีคุณภาพระดับมาตรฐานสากล
- โรงเรียนมัธยมศึกษา และโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัด สพฐ. มีระบบการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพที่รองรับการประกันคุณภาพการศึกษา และได้รับการส่งเสริมให้มีคุณภาพระดับมาตรฐานสากล
- นักเรียน ได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะในการแข่งขันและมีคุณภาพระดับมาตรฐานสากล
- มีทีมพี่เลี้ยง ทีมนำ และทีมทำในระดับภูมิภาคและระดับจังหวัดเป็นเครือข่ายในการพัฒนาการจัดการศึกษาสู่สมรรถนะในการแข่งขันและมีคุณภาพระดับมาตรฐานสากล
กิจกรรมดำเนินงาน
1. กิจกรรมการสร้างความรู้ความเข้าใจกับโรงเรียนที่อยู่ในโครงการและโรงเรียนที่ยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการการพัฒนาการบริหารและจัดการศึกษาสู่สมรรถนะการแข่งขันในศตวรรษที่ 21
2. กิจกรรมการสร้าง Roving Team ในการติดตาม ทบทวน ให้ความรู้ ทั้งด้านการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในราย วิขาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง Independent Study : IS และการบริหารด้วยระบบคุณภาพ
3. กิจกรรมการประเมินพัฒนาการโรงเรียนที่ขอสมัครรับการประเมินระดับ ScQA และ OBECQA
4. กิจกรรมการขับเคลื่อนการส่งเสริมศักยภาพของนักเรียนและโรงเรียนในโครงการพัฒนาสู่สมรรถนะการแข่งขันในศตวรรษที่ 21 และมาตรฐานสากล ระดับจังหวัด ระดับภาค และพัฒนาสู่ระดับชาติ
ระยะเวลาดำเนินงาน
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 – ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย
ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- โรงเรียนมีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพรองรับการประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งการประเมินตนเองระดับ ScQA และการพัฒนาต่อยอดสู่ระดับ OBECQA
- มีโรงเรียนต้นแบบที่พัฒนาต่อยอดตามแนวทางเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่ง สพฐ. OBECQA ที่สมัครเข้ารับการพัฒนาต่อยอดสู่มรรถนะในการแข่งขันระดับนานาชาติ โดยได้รับการประเมินจากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติสู่มรรถนะในการแข่งขันระดับนานาชาติ
- ผู้บริหาร ครู และบุคลากร สามารถนำความรู้ในการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพรองรับการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- นักเรียนมีศักยภาพและสมรรถนะในการแข่งขันสู่ศตวรรษที่ 21 และมาตรฐานระดับสากล (มีความเป็นเลิศวิชาการ สามารถสื่อสารได้สองภาษา ล้ำหน้าทางความคิด สามารถผลิตชิ้นงานอย่างสร้างสรรค์ และร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก)