โครงการพัฒนาสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อรองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจ
ภาคตะวันออกด้านภาษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
และการประกอบอาชีพ 10 อุตสาหกรรม
************************************
เหตุผลความจำเป็น
เศรษฐกิจเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ เพราะฉะนั้นการเติบโตภายใต้โครงสร้างการพัฒนาที่เข้มแข็งเปรียบเสมือนเป็นต้นทุนของประเทศ ซึ่งในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาประเทศไทยห่างหายจากการลงทุนโครงการใหญ่ ๆ ไปนาน ทว่า วันนี้แนวโน้มอุตสาหกรรมทั่วโลกเริ่มเปลี่ยนทิศทางอีกครั้ง การเกิดสาขาอุตสาหกรรมและบริการใหม่ ๆ ที่ผสมผสานการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลากหลายสาขาเพื่อตอบสนองความต้องการในภาคการผลิต การบริการ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปรวมทั้งรูปแบบและกระบวนการประกอบธุรกิจบริการที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและหลากหลาย รูปแบบผลิตภัณฑ์ และบริการมีวัฎจักรชีวิตสั้นลง การแข่งขันในตลาดอยู่บนฐานของการใช้นวัตกรรมทั้งในกระบวนการผลิตการออกแบบผลิตภัณฑ์ และบริการ ดังนั้นประเทศไทยจึงมีความจำเป็นต้องเร่งสร้างสมรรถนะทางเทคโนโลยีโดยกลุ่มเทคโนโลยีที่ไทยมีศักยภาพพัฒนาได้เองจะต้องพัฒนาต่อยอดให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นและเป็นฐานเศรษฐกิจใหม่ในระยะต่อไปเพื่อให้สามารถเร่งพัฒนาเทคโนโลยีให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก และในขณะเดียวกันจะต้องลงทุนวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่เป็นฐานของการพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคต เพื่อสั่งสมองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในระยะยาว
จากการมีพระราชบัญญัติประกาศให้ 3 จังหวัดในภาคตะวันออกคือ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทราเป็นเขตพัฒนาพิเศษของภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) อีกทั้งยังได้กำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ได้รับการส่งเสริมเพื่อให้เกิดการลงทุนอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เพื่อเพิ่มศักยภาพรองรับการลงทุน การพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจและการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในพื้นที่ให้สามารถประกอบกิจการอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการจัดระบบการสะสมเทคโนโลยีให้มีความทันสมัยระดับนานาชาติ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น และยกระดับการพัฒนาแบบก้าวกระโดด เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศไทยในฐานะประตูของภูมิภาคเอเชีย ซึ่งปัจจัยสำคัญที่สุดประการหนึ่งของเป้าหมายดังกล่าว คือ การพัฒนากำลังคนให้มีความรู้ความสามารถเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมาย ในขณะเดียวกันจะสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการในการสร้างธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตที่ทำให้สามารถบริหารจัดการห่วงโซ่การผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งเป็นผู้ดูแลสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา ตระหนักถึงการสร้างเจตคติ และสร้างกำลังคนเพื่อการพัฒนาประเทศในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ดังกล่าวอย่างเร่งด่วนเพื่อให้สอดรับกับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ด้านภาษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการประกอบอาชีพ 10 อุตสาหกรรม
วัตถุประสงค์
3.1 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้เรียน ครู และบุคลากรในสถานศึกษา พร้อมทั้งชุมชน สังคมที่เกี่ยวข้องให้มีความพร้อมทั้งทักษะความรู้ ทักษะอาชีพ และทักษะชีวิตก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงานเพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC)
3.2 เพื่อให้สถานศึกษามีความพร้อมในการบริหารจัดการเพื่อรองรับตลาดแรงงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC)
3.3 เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียนด้านภาษาเพื่อการสื่อสาร (ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาอื่น) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Digital literacy ,ปัญญาประดิษฐ์ : Artificial Intelligence : AI วิทยาการคำนวณ (Computing Science), และการเขียนโค้ด : Coding) และด้านการประกอบอาชีพ 10 อุตสาหกรรม (สะเต็มศึกษา (STEM Education), โครงการ KidBright, วิทยาการหุ่นยนต์และการบูรณาการด้านการประกอบอาชีพ 10 อุตสาหกรรม) ให้สอดคล้องกับความต้องการแรงงานของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC)
เป้าหมายโครงการ
1.เป้าหมายเชิงปริมาณ
1.1 ครูของสถานศึกษาในโครงการ จำนวน 79 โรงเรียน 1,000 คน ได้รับการพัฒนาภาษาเพื่อการสื่อสาร (ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาอื่น) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Digital literacy ,ปัญญาประดิษฐ์ : Artificial Intelligence : AI วิทยาการคำนวณ (Computing Science), และการเขียนโค้ด : Coding) และด้านการประกอบอาชีพ 10 อุตสาหกรรม (สะเต็มศึกษา (STEM Education), โครงการ KidBright, วิทยาการหุ่นยนต์และการบูรณาการด้านการประกอบอาชีพ 10 อุตสาหกรรม) เพื่อรองรับ
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC)
1.2 ผู้เรียนของสถานศึกษาในโครงการ จำนวน 79 โรงเรียน 100,589 คน มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะตรงตามความต้องการ และความถนัดของตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนรู้จักตนเองและสามารถตัดสินใจวางแผนเพื่อศึกษาต่อในสถาบันอาชีวศึกษา หรือสถาบันอุดมศึกษาที่สนใจต่อไปได้ เพื่อการรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC)
1.3 สถานศึกษาในโครงการสามารถพัฒนาและขับเคลื่อนโครงการเพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC)
1.4 ผลการดำเนินงานตามโครงการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาในสังกัดเพื่อการขยายผลต่อไปได้
2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ
2.1 ครูของสถานศึกษาในโครงการสามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาอื่น) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Digital literacy ,ปัญญาประดิษฐ์ : Artificial Intelligence : AI วิทยาการคำนวณ (Computing Science), และการเขียนโค้ด : Coding) และด้านการประกอบอาชีพ 10 อุตสาหกรรม (สะเต็มศึกษา (STEM Education), โครงการ KidBright, วิทยาการหุ่นยนต์และการบูรณาการด้านการประกอบอาชีพ 10 อุตสาหกรรม) ได้
2.2 นักเรียนของสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) สามารถเลือกเส้นทางการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นเกี่ยวกับประกอบอาชีพ 10 อุตสาหกรรมได้
2.3 รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ด้านภาษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการประกอบอาชีพ 10 อุตสาหกรรม จากการติดตามและสรุปผลการดำเนินงานของสถานศึกษาในโครงการ
กิจกรรมดำเนินงาน
- กิจกรรมการฝึกอบรมและพัฒนาครูด้านภาษาเพื่อการสื่อสาร (ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาอื่น) ของสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC)
- กิจกรรมการฝึกอบรมและพัฒนาครูด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Digital literacy ,ปัญญาประดิษฐ์ : Artificial Intelligence : AI วิทยาการคำนวณ (Computing Science), และการเขียนโค้ด : Coding) ของสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC)
- กิจกรรมการฝึกอบรมและพัฒนาครู ด้านสะเต็มศึกษา (STEM Education), โครงการ KidBright, วิทยาการหุ่นยนต์และการประกอบอาชีพ 10 อุตสาหกรรมของสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC)
- สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) (79 โรงเรียน)
- สนับสนุนงบประมาณในการกำกับ ดูแลสถานศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) (2 เขตพื้นที่การศึกษา)
- กิจกรรมการจัดทำเครื่องมือติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ด้านภาษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการประกอบอาชีพ 10 อุตสาหกรรม
- กิจกรรมการติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ด้านภาษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการประกอบอาชีพ 10 อุตสาหกรรม
- กิจกรรมการสรุปผลการดำเนินงานของสถานศึกษาเพื่อสร้างต้นแบบด้านภาษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการประกอบอาชีพ 10 อุตสาหกรรมของสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ปีงบประมาณ 2564 (ตุลาคม 2563 – กันยายน 2564)
ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย
ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- สถานศึกษาสามารถขยายผลการฝึกอบรมให้แก่ครูและผู้เรียนในสถานศึกษาด้านภาษาเพื่อการสื่อสาร (ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาอื่น) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Digital literacy ,ปัญญาประดิษฐ์ : Artificial Intelligence : AI วิทยาการคำนวณ (Computing Science), และการเขียนโค้ด : Coding) และด้านการประกอบอาชีพ 10 อุตสาหกรรม (สะเต็มศึกษา (STEM Education), โครงการ KidBright, วิทยาการหุ่นยนต์และการบูรณาการด้านการประกอบอาชีพ 10 อุตสาหกรรม) เพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) เพื่อพัฒนาและการขยายผลแก่สถานศึกษาต่อไปได้
- นักเรียนของสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะที่ดีต่อการเลือกเส้นทางการศึกษาทั้งระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษา เพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC)
- ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสามารถสร้างระบบในการบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อการขยายผลต่อไปได้
- สถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาในโครงการ มีรูปแบบการพัฒนาที่สามารถเป็นสถานศึกษาต้นแบบเพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)